HR จะเลือก In house หรือ Outsource อย่างไร

  • 31 มี.ค. 2557
  • 8487
หางาน,สมัครงาน,งาน,HR จะเลือก In house หรือ Outsource อย่างไร

           ในการดำเนินธุรกิจ องค์กรจะต้องตัดสินใจว่า จะดำเนินการผลิตเอง ที่เรียกว่า “In house” หรือจะว่าจ้างให้คนอื่นทำ ที่เรียกว่า “Outsource” ซึ่งทั้ง 2 แบบมีจุดแข็งและจุดอ่อนที่แตกต่างกัน

           การบริหารแบบ In house มี จุดแข็ง คือ การควบคุมคุณภาพและประสิทธิภาพในการดำเนินงานทำได้ดีกว่า แต่ต้องขยายธุรกิจด้วยการลงทุนทรัพยากรต่างๆ เพิ่มขึ้น และมักพบปัญหาว่าองค์กรจะใหญ่โตอุ้ยอ้าย ขาดความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ เช่น การเพิ่มการลงทุนผลิตเครื่องยนต์ด้วยตนเอง ก็ต้องมีการขยายโรงงานและเพิ่มกำลังคนมากขึ้น

          การบริหารแบบ Outsource มีจุดแข็ง คือ ให้องค์กรหรือบริษัทที่มีความชำนาญเฉพาะด้านดำเนินงาน เช่น บริษัทที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ด้านบัญชี ด้านการวางระบบคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างที่ชัดเจน คือโครงการก่อสร้างจะมี Outsource ที่เรียกว่า Sub Contractor จำนวนหลายราย เช่น งานเสาเข็มและฐานราก งานก่อสร้าง งานระบบไฟฟ้า งานสุขภิบาล งานเครื่องปรับอากาศ งานตบแต่งภายใน เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้สำนักงาน และงานจัดสวน    เป็นต้น

            ดังนั้น ในการตัดสินใจขององค์กรว่าเลือก   In house หรือ Outsource มักจะคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้

  1. ความเป็นผู้ชำนาญการในวิชาชีพหรือทักษะนั้นๆ รวมถึง ศักยภาพของบริษัทที่จะเข้ามาดำเนินงาน ต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติและประวัติการดำเนินงานเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจได้
  2. การบริหารควบคุมต้นทุนการดำเนินงาน การผลิต ตลอดจนค่าใช้จ่ายต่างๆ ต้องเปรียบเทียบทั้ง 2 ทางเลือกในระยะสั้นและระยะยาว
  3. การบริหารองค์กรมีความยืดหยุ่นมากน้อยเพียงใด เช่น คำสั่งซื้อต้นปีมีจำนวนมาก   แต่ปลายปียอดสั่งซื้อลดลง  องค์กรจะบริหารงานอย่างไร

           งานของ HR ก็ต้องคิดต้องตัดสินใจว่าจะเลือก In house หรือ Outsource เช่นกัน โดยใช้ปัจจัยข้างต้นเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ เช่น งานรักษาความปลอดภัย งานดูแลต้นไม้จัดสวน งานทำความสะอาดอาคารสูง งานบริการรถรับ–ส่งพนักงานและผู้บริหาร ปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะใช้การบริหารแบบ Outsource มากขึ้น

           การจ้างเหมาแรงงานที่เรียกว่า Sub Contract ก็เป็นการบริหารแบบ Outsource อีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่การผลิตมีทั้งมาก และน้อยสลับกันไปตามแต่ละประเภทอุตสาหกรรม ไม่ใช่พนักงานชั่วคราวตามที่บางคนเรียกกัน ดังนั้น การตัดสินใจด้านกำลังคน จะมีวิธีการเลือกได้ 3 แนวทาง ดังนี้

           1) สัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน   สามารถกำหนดช่วงเวลาในการทดลองงานนานเท่าใดก็ได้   แต่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหากจะมีการเลิกสัญญา ทั้งนี้มักใช้ในการว่าจ้าง Staff สำนักงาน

           2) สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ต้องกำหนดวันเริ่มต้น และวันสิ้นสุดไว้ หากต้องการเลิกสัญญาก่อนกำหนดจะทำได้ก็ต่อเมื่อสามารถพิสูจน์ได้ว่าไม่มีฝีมือตามที่แจ้งไว้ ตัวอย่าง เช่น งานล่ามแปลภาษาต้องสามารถแปลและเขียนภาษาญี่ปุ่นได้ ที่เรียกว่า Freelance หรืองานอิสระ โดยทำสัญญามีกำหนดเวลา 1 ปี หรือ การว่าจ้างที่ปรึกษา     เป็นต้น

           3) สัญญาจ้างเหมาแรงงาน (Sub Contract) เป็นสัญญาระหว่างบริษัทต่อบริษัท โดยที่มี ฝ่ายผู้ว่าจ้างและฝ่ายผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างมีหน้าที่ในการสรรหาคัดเลือกบุคลากร โดยมีผู้ว่าจ้างคอยตรวจสอบการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามสัญญา นอกจากนี้ ผู้รับจ้างยังมีหน้าที่อื่นๆ เช่น การให้การอบรม การดูแลความปลอดภัยในการทำงาน การจ่ายค่าจ้างและจัดสวัสดิการต่างๆ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึง การดำเนินการทางวินัยหรือลงโทษพนักงาน Sub Contract  บางครั้งฝ่าย HR ของผู้ว่าจ้างอาจหลงลืมไปก้าวก่ายหน้าที่ลงโทษพนักงานเหล่านี้  จึงขอเตือนว่า  HR ไม่ใช่นายจ้างของ Sub Contract ต้องให้ทีมงานของผู้รับจ้างเป็นผู้ดำเนินการดังกล่าวครับ

 

เครดิต  http://www.oknation.net/blog/Smartlearning/2010/09/13/entry-1

หางานตามสาขาอาชีพ

JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved

jobbkk มีเพียงเว็บเดียวเท่านั้น ไม่มีเว็บเครือข่าย โปรดอย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้าง และหากผู้ใดแอบอ้าง ไม่ว่าทาง Email, โทรศัพท์, SMS หรือทางใดก็ตาม จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด DBD

Top